Site MapContact Us
Cart Buy Now or Call 0-2402-6117, 08-8258-3131
0-2402-8107, 08-8258-3535
Search

ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว

ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
     เพื่อให้ได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเร็ว ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ต้องจัดให้มีการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆ โดยสังเขปดังนี้
  1.1 กำหนดนโยบายการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
   
(1) เพื่อให้การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษี และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดบัญญัติไว้ และมีจำนวนน้อยที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

(2) เพื่อให้ขจัดปัญหาในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการที่อาจเกิดขึ้นในทุกกรณี เนื่องจากแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการกำหนดรายละเอียดของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้มากมาย รวมทั้งกำหนดประเด็นความผิดไว้เกือบทุกกิจกรรม ซึ่งหากไม่มีการวางแผนหรืออย่างน้อยทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก็อาจต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสมอ อันจะนำไปสู่การเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในทางตรงกันข้ามหากมีการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้ผู้บริหาร
    ไม่ต้องเสียเวลากับปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเกิดจากการปฏิบัติผิดพลาดทั้งกรณีที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจให้เกิดความผิดพลาดนั้น

(3) เพื่อประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ได้แก่ เบี้ยปรับ เพราะเหตุที่ผู้ประกอบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มขาดจำนวน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี เงินเพิ่มภาษี เพราะเหตุที่ผู้ประกอบการชำระ หรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า  หรือเกินเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ในอัตราร้อยละ 1.5ต่อเดือนหรือเศษของเงินภาษีที่ต้องชำระ  หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ  และมีค่าปรับทางอาญาเนื่องจากการฝ่าฝืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่เกี่ยวกับการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ผู้ประกอบการพึงเข้าใจว่าเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญาตามประมวลรัษฎากรนั้น ในทางบัญชีให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานทั่วไป แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี

(6) แห่งประมวลรัษฎากรต้องนำมาบวกกลับเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล อันจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีกร้อยละ 30 ของรายจ่ายที่ต้องห้ามดังกล่าว

(4) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่ม

(5) เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และพร้อมต่อการถูกเรียกตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม

(6) เพื่อเสริมสร้างระบบการควบคุมภายใน
 
  1.2 กำหนดคณะบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

1.3 ศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มทุกกรณี

1.4 ศึกษารูปแบบการจัดองค์การ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเอกสารทางธุรกิจ

1.5 ดำเนินการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.6 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลกระทบ

2. ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย ตลอดจนเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน โดยต้อง
  2.1 รู้จริง และรู้ซึ้งว่ากิจกรรมใดของกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะเกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีและเมื่อใด

2.2 ต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนว่าเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการสิ่งใดบ้าง ได้แก่
    (1) ออกใบกำกับภาษีและสำเนา พร้อมทั้งส่งมอบ
ต้นฉบับใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า  หรือผู้รับบริการในทันทีที่ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (มาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร)

(2) จัดทำรายงานภาษีขายให้เสร็จสิ้นไปภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

(3) จัดเก็บรายงานและเอกสารหลักฐานสำเนา
ใบกำกับภาษีขายไว้ ณ สถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30
     
  3. ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ ตลอดจนเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
      โดยต้องรู้จริง รู้ซึ้งว่า ภาษีซื้อรายการใดที่ขอเครดิตหักออกจากภาษีขายได้ และเป็นจำนวนเท่าใด
 
 
ในกรณีที่ต้องมีการเฉลี่ยภาษีีซื้อภาษีซื้อตามหลักฐานใบกำกับภาษีของเดือนภาษีใด ให้นำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระของเดือนภาษีที่ได้รับใบกำกับภาษีนั้น หรือในเดือนถัดไป แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษส่วนใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ให้ใช้เพิ่มยอดภาษีซื้อหรือลดยอดภาษีซื้อ ในเดือนภาษีที่ได้รับเท่านั้น นอกจากนี้ ต้องรู้ว่าภาษีซื้อรายการใดที่เป็นภาษีต้องห้าม แต่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ รวมทั้งวางแผนป้องการใบกำกับภาษีปลอม ที่จะเข้ามาในกิจการ
ด้วยการวางระบบการควบคุมภายในที่ดี

4. ต้องเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียน
     ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าวโดยเคร่งครัด รวมทั้งให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานสรรพากรด้วยดี ในการปฏิบัติหน้าที่ อาทิ การกำกับดูแล การตรวจสอบก่อนหรือหลังคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

5. เข้าสู่ระบบการเป็นผู้ส่งออกที่ดี หรือผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน
      เพื่อให้ได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เร็วกว่า โดยเฉพาะกรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทาง Web Site ของกรมสรรพากร



ที่มา : www.accasa.com 
Company
News