Site MapContact Us
Cart Buy Now or Call 0-2402-6117, 08-8258-3131
0-2402-8107, 08-8258-3535
Search

ธุรกิจผลิต

 Prosoft WINSpeed ธุรกิจผลิต    วัตถุประสงค์
1. เพื่อการบันทึกการเบิกวัตถุดิบไปผลิต
2. เพื่อการบันทึกการเบิกวัสดุสิ้นเปลืองไปใช้
3. เพื่อการบันทึกการรับสินค้าสำเร็จรูป
4. เพื่อการบันทึกการรับคืนจากการเบิกวัตถุดิบไปผลิต
5. เพื่อการบันทึกการรับคืนจากการเบิกวัสดุสิ้นเปลืองไปใช้
6. เพื่อการตรวจบันทึกรับจำนวนและต้นทุนของการรับสินค้าสำเร็จรูป
7. เพื่อการตรวจสอบควบคุม Stock จำนวนและต้นทุนของวัตถุดิบ หรืองาน
ระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป
8. เพื่อการบันทึกและตรวจสอบรายรับ – รายจ่าย และต้นทุนของแต่ละ
Job งาน
 
  การกำหนดข้อมูลเบื้องต้น
1. กำหนดงวดบัญชีโปรแกรม กำหนดได้ที่ระบบ EM > General setup > หน้าจอกำหนดงวดบัญชี
  • งวดบัญชีปกติ
 

  • งวดบัญชีแบบคร่อมงวด
 

2. การเตรียมผังบัญชี ที่จะเกี่ยวข้องและอ้างอิงนำไปใช้ในการผลิตโดยให้คลิกที่ช่อง Job
     2.1 กำหนดแยกรหัสบัญชีสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ

 

     2.2 กำหนดแยกรหัสบัญชีซื้อเป็นแต่ละประเภท

 


2.3 กำหนดแยกรหัสบัญชีต้นทุนผลิต


 

2.4 กำหนดแยกรหัสบัญชีประเภทของรายได้

 

3. กำหนดรหัสบัญชีรวม เพื่อนำไปใช้ในการ Post GL กำหนดที่ ระบบ EM > GL Setup > หน้าจอกำหนดรหัสบัญชีรวม

 

    3.1 กำหนดเอกสารเชื่อม GL เพื่อให้โปรแกรมทำการ Post GL ให้อัตโนมัติ กำหนดที่ ระบบ EM > GL Setup > หน้าจอกำหนดกำหนดเอกสารเชื่อม GL

 

*หมายเหตุ

เราสามารถสร้างงบต้นทุนการผลิตได้ โดยดึงเลขที่รหัสบัญชีที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตไปแสดง
โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า แยกตามผังบัญชีที่ระบบ EM > IC setup > หน้าจอกำหนดรหัสสินค้า Tab Account

 

2. กำหนดรหัสคลังสินค้า เพื่อนำไปใช้ตอนที่บันทึกซื้อ , ขาย ,เบิกวัตถุดิบ กำหนดได้ที่ระบบ EM > IC setup > หน้าจอกำหนดรหัสคลังสินค้า


3. กำหนดรหัสที่เก็บสินค้า เพื่อนำไปใช้ตอนที่บันทึกซื้อ , ขาย ,เบิกวัตถุดิบ กำหนดได้ที่ระบบ EM > IC setup > หน้าจอกำหนดที่เก็บสินค้า

 

4. กำหนดรูปแบบรหัสสินค้าที่ระบบ EM  > IC setup > หน้าจอกำหนดรหัสสินค้า
** สินค้าแต่ละรายการที่สร้างนี้จะต้องกำหนดในเรื่องของกลุ่มสินค้าให้ถูก ประเภทตามเลขที่บัญชี ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
หรือวัตถุดิบเป็นต้น

 

 

 

5. กำหนดรหัสค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารับเหมาต่างๆ ที่ระบบ EM > General setup > หน้าจอกำหนดรหัสค่าใช้จ่าย



6. กำหนดรหัสงานแยกตาม Job งาน กำหนดได้ที่ระบบ EM > General setup > หน้าจอกำหนดรหัส Job

 

7. กำหนดเลขที่เอกสาร เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลของสินค้า,วัตถุดิบ และใช้ในการรับสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต โดยกำหนดได้ที่ระบบ EM > General setup > หน้าจอกำหนดเลขที่เอกสาร



8. กำหนดรหัสเจ้าหนี้ (ผู้จำหน่าย) เพื่อใช้ในการซื้อ/รับวัตถุดิบที่ ระบบ EM > AP Setup > หน้าจอกำหนดรหัสเจ้าหนี้

 

9. กำหนดรหัสลูกค้า เพื่อใช้ในการขายสินค้าสำเร็จรูปที่ระบบ EM > AR setup > หน้าจอกำหนดรหัสลูกหน

 

การบันทึกรายการข้อมูลประยุกต์ใช้งานโปรแกรมธุรกิจผลิต

1. ขั้นตอนการบันทึกซื้อวัตถุดิบ
    การซื้อวัตถุดิบเข้าสต๊อก ให้บันทึกที่ระบบ Purchase Order  >  PO Data Entry  > หน้าจอซื้อสด ,ซื้อเชื่อ
บันทึกซื้อต้องอ้างถึงรหัสสินค้า,วัสถุดิบ ที่ได้กำหนดไว้แล้วที่หน้าจอกำหนดรหัสสินค้า ผลก็คือ โปรแกรมจะไปเพิ่มสต๊อกสินค้า,วัสถุดิบ ตามรหัสที่อ้างถึงทันที

กรณีซื้อสด

 

บันทึกการจ่ายชำระซื้อสด ที่ Tab Payment



โปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ



กรณีซื้อเชื่อ  (ระบบ Purchase Order  >  PO Data Entry  )



โปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ



2. ขั้นตอนการเบิกวัตถุดิบ บันทึกเบิกวัตถุดิบที่ระบบ >Inventory Control > IC Data Entry > หน้าจอใบเบิก



*หมายเหตุ

       - หากต้องการให้ต้นทุนแสดงให้อัตโนมัติ กำหนดที่ระบบ EM > IC Setup > IC Option

 

3. ขั้นตอนการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิต

   หากมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตประเภทอื่นๆที่นอกเหนือจากวัตถุดิบไม่ว่า จะเป็นค่าแรงงาน
ค่าโสหุ้ยในการผลิต ให้คุณเลือกบันทึกค่าใช้จ่ายได้ 2 ทาง คือ

 

3.1 บันทึกที่หน้าจอรายการรายวันที่ระบบ General Ledger > GL Data Entry > หน้าจอรายการรายวัน
โดยจะบันทึกเข้าที่สมุดรายวันจ่ายโดยตรง หรือจะสร้างสมุดรายวันการผลิตเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เล่ม เพื่อใช้บันทึกรายการประเภทนี้โดยเฉพาะ

3.2 บันทึกที่หน้าจอตั้งเจ้าหนี้อื่นๆ ที่ระบบ Account Payable > AP Data Entry > หน้าจอตั้งเจ้าหนี้อื่นๆ
(โดยท่านจะต้องเตรียมรหัสค่าใช้จ่ายไว้ให้พร้อมกับการบันทึกข้อมูลไว้ก่อน)และโปรแกรมจะทำการบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ

 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ



4. ขั้นตอนการรับสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต
     เป็นการเพิ่มสต๊อคของจำนวนและต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปโดยบันทึกได้ที่ระบบ Inventory Control > IC Data Entry > หน้าจอรับสินค้าผลิตเสร็จ

 

*หมายเหตุ

  • สำหรับคอลัมน์ต้นทุน/หน่วย จะต้องบันทึกรับรู้ต้นทุนด้วย เพื่ออ้างอิงราคาต้นทุนไปแสดงในรายงาน
เคลื่อนไหวสินค้าต่อไป โดยต้นทุน/หน่วยจะนำมาจากการบันทึกเข้าที่หน้าจอโดยตรงที่เกิดจากการคำนวณ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตเอง -กรณีที่เคยบันทึกราคาซื้อมาตราฐานหรือ Standard Cost ให้อัตโนมัติ กำหนดได้ที่ระบบ EM > IC Setup > IC Option

 

5. ขั้นตอนปรับปรุงค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต
     เป็นการปรับปรุงค่าใช้จ่ายต่างๆจากขั้นตอนการคุมสต๊อคของงานระหว่างทำเข้าบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต         โดยบันทึกที่ระบบ GL > หน้าจอบันทึกรายการรายวัน

 

6. ขั้นตอนการบันทึกขายสินค้าสำเร็จรูป (ที่ได้จากการับผลิตเสร็จ)
     ขั้นตอนการบันทึกการขายเพื่อทำการตัดสต๊อคที่ระบบ Sale Order > SO Data Entry > หน้าจอขายสด , ขายเชื่อ
และโปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ

กรณีขายสด
 

โปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ



กรณีขายเชื่อ



โปรแกรมจะบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ



7. ตัวอย่างการแสดงรายงาน ที่เกี่ยวข้อง
     7.1 รายงานค่าใช้จ่าย ของรหัส Job J-001 - J-002
 

     7.2  การแสดงข้อมูลงบกำไรขาดทุนสุทธิ

 

7.3 รายงานบัญชีพิเศษและบัญชคุมสินค้า ,วัตถุดิบ แสดงการเคลื่อนไหวของจำนวนและต้นทุนของสินค้า,วัตถุดิบ

 

*หมายเหตุ

     ก่อนเรียกดูรายงาน ให้คำนวณต้นทุน ที่ระบบ Inventory Control > IC Reprocess and History > Calculate Cost

 

Service
Complain
ContactUs
Download
SoftbankThai
รับทำเว็บไซต์
หางานทั่วไทย
B2BThai